ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล *.*

ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล *.*

ดนตรีก่อเกิดเพราะการได้ยินเสียงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ มีการรับรู้ เลียนแบบ ศึกษาจังหวะ ระดับเสียงความดัง-เบา ความกลมกลืนและแตกต่างของเสียงแต่ละประเภท จากใกล้ตัวที่สุดคือชีพจรการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวร่างกายไปถึงเสียงจากธรรมชาติและสัตว์นานา ดนตรีสากลหรือดนตรีตะวันตกมีพื้นฐานจากความมุ่งหวังไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า จากหลักปรัชญากรีกโบราณในราวช่วงปี 800 ก่อนคริสตกาล ที่เน้นความสำคัญของการสร้างร่างกายให้แข็งแรงด้วยการเล่นกีฬา และงดงามของจิตใจด้วยศิลปะ บทกวี ดนตรี การละครและระบำรำฟ้อน เพื่อสร้างสรรค์ให้มนุษย์สมบูรณ์

         ปี 585-479 ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกชื่อ ปิธากอรัส คิดค้นทฤษฎีการเกิดเสียงขึ้นจากการคำนวณรอบการสั่นสะเทือน ของสายเสียง ได้ข้อสรุปว่า “ถ้าสายสั้นกว่าจะได้เสียงที่สูงกว่า ถ้าสายยาวกว่าจะได้เสียงที่ต่ำกว่า” วิชาความรู้และ แนวคิดนี้กระจายแพร่หลาย ชื่อเสียงปิธากอรัสเลื่องลือทั่วยุโรป

มีการจำแนกเครื่องดนตรีเป็น 4 ประเภท

1. เครื่องสาย-String ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส พิณ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน บาลาไลกาสืบประวัติเครื่องตระกูลไวโอลินได้ว่ากำเนิดมาจากต้นตอคือ ซอรีเบ็คและซอวิแอล ซึ่งเป็นซอโบราณ ในสมัยกลาง และซอลิราดาบรัชโช สมัยเรอเนซองซ์ ค.ศ.1600-1750 นับเป็นยุคทองของการประดิษฐ์ ไวโอลินที่ได้รับการดัดแปลงปรับปรุงจนมีคุณภาพสูงถึงขีดสุดยอด

2. เครื่องเป่าลมไม้ – Woodwind ได้แก่ ฟลุ้ต พิโคโล คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน อิงลิชฮอร์น แซ็กโซโฟน รีคอร์เดอร์ แพนไปพ์ ปี่สกอต ออร์แกน(แบบดั้งเดิม) หีบเพลงปาก ยกตัวอย่างฟลุ้ต เครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุด พัฒนามาพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ แรกเริ่มทีเดียวมนุษย์ในยุคหินคงหากระดูกสัตว์หรือเขากวางเป็นท่อนกลวง หรือไม่ก็ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่างๆ วัตถุเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้

3. เครื่องเป่าทองเหลือง – Brass ได้แก่ ทรัมเป็ต คอร์เนท เมลโลโฟน เฟรนช์ฮอร์น ทรอมโบน ทูบา ซูซาโฟน ยูโฟเนียม ยกตัวอย่าง ทรัมเป็ต ประวัติมาไกลถึงแถบเอเชียซึ่งปรากฏหลักฐานว่าชาวจีนเคยใช้แตรที่มีลักษณะคล้ายทรัมเป็ต มานานกว่า 4,000 ปี ขณะชาวยุโรปใช้แตรที่มีลำโพงงอเป็นขอในกองทัพ สมัยโบราณยุโรปถือว่าทรัมเป็ต เป็นของสูง ผู้ที่จะมีได้หากไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ก็เป็นนักรบชั้นแม่ทัพ

4. เครื่องกระทบ – Percussion ได้แก่ กลองเล็ก กลองใหญ่ กลองเทเนอร์ กลองบองโก กลองทิมปานี ไชนีส บ็อกซ์ กรับสเปน ฉาบ ไซไลโฟน ยกตัวอย่างกลองทิมปานี มีต้นกำเนิดแถวอาระเบีย ชาวอาหรับสมัยก่อนจะผูกกลอง 2 ลูกบนหลังอูฐ สำหรับตีประโคมเวลายกทัพออกศึกหรือยามเคลื่อนคาราวาน แขกมัวร์เป็นผู้นำกลองชนิดนี้เข้ายุโรป กลายพันธุ์เป็นเครื่องดนตรีสากลด้วยประการฉะนั้น 

  • เปียโน [Piano] เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในปลายคริสตศตวรรษที่18เสียงของเปียโนเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ที่ถูกฆ้อนเล็กๆตีสายซึ่งขึงอยู่ข้างในเมื่อผู้เล่นกดคีย์และเมือผู้เล่นยกนิ้วขึ้นสักหลาดชิ้นเล็กๆจะกลับ ทาบลงบนสายทำให้หยุดความสั่นสะเทือนเสียงก็จะหยุด เปียโนสามารถทำให้เสียงยาวได้โดย เหยียบ Pedalเปียโนมีช่วงเสียงกว้างมากสามารถเล่นให้มีเสียงดัง-เบาได้ ตามความแรงของนิ้วที่กดลงบนคีย์ ชื่อเรียกเต็มคือ เปียโนฟอร์เต้ (Piano-forte) เป็นภาษาอิตาเลี่ยน หมายความว่าเล่นได้ทั้งเบาและดัง (piano แปลว่าเบา forte แปลว่าดัง)

  • ฮาร์พซิคอร์ด [Harpsichord] เป็นต้นตระกูลของเปียโนนิยมเล่นกันแพร่หลายในคริสตศตวรรษ ที่ 16, 17 และ18มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Claveein (ฝรั่งเศส) Clavicembalo (อิตาเลียน)และ Virginal (อังกฤษ) มีคีย์คล้ายๆ เปียโนแต่โดยมากมักจะมี 2 ชั้นเสียงเกิดขึ้นเพราะวัตถุคล้าย Prectrum ของกีต้าร์ เมื่อเวลาผู้เล่นกดคีย์เสียงคล้ายเสียงของ สแปนิชกีต้าร์ สามารถเล่นได้รวดเร็วและชัดเจนแจ่มใส แต่เสียงไม่ค่อยจะดังมากนัก

  • ซินธิไซเซอร์ [Synthesizer] ซินธิไซเซอร์เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิคที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งให้เสียงแตกต่างกันมากมาย ภายในเครื่องเดียวสร้างความสะดวกให้ผู้เล่นสามารถค้นหาเสียงได้มากมาย

  • แอคคอร์เดี้ยน [Accordian] ดัดแปลงมาจากออร์แกน ใช้หลักการสร้างลมเป่าในหลอดทำเสียงด้วยวิธีชักเข้าและชักออกของถุงลม แล้วกดบังคับเสียงจากลิ่มนิ้วเหมือนออร์แกนหีบเพลงชักมีมากมายหลายแบบจนนับไม่ถ้วน

  • รำมะนา [Tambourine] มีรูปร่างคล้ายกลองแบนๆ ขึงด้วยหนังหน้าเดียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ10นิ้วรอบๆ ขอบมีลูกกระพรวนติดอยู่เป็นระยะๆ เพื่อทำให้เกิดเสียงกรุ๋งกริ๋งเวลาผู้เล่นเขย่าเป็นเครื่องประกอบจังหวะที่พวกเสปน ยิปซี ใช้ประกอบการเต้นรำมาช้านาน เป็นเสียงที่ให้ความรู้สึกครึกครื้น สนุกสนาน

  • ฉาบ [Cymbals] เป็นเครื่องประกอบจังหวะที่มีลักษณะเหมือนฉาบของไทย แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก เป็นจานทองเหลืองบางๆ 2 อัน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-24 นิ้ว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง15-16 นิ้ว เป็นขนาดที่ใช้ในวงดุริยางค์ ใช้ตีกระทบกัน เป็นเครื่องประกอบจังหวะที่ให้เสียงอึกทึกที่สุด

  • กลองชุด [Drumkit] ประกอบด้วยกลองหลายใบรวมอยู่ด้วยกัน เช่น Bass,Tenor,Snare,Cymbals ใช้ผู้เล่น คนเดียวสำหรับBass Drum และ Cymbals ผู้เล่นใช้เท้าเหยียบกระเดื่อง มือทั้งสองถือไม้ตีกลองใบอื่น และฉาบด้วย

  • กลองทิมปานี [Timpani] ทิมปานีเป็นกลองที่ปรับระดับเสียงได้รูปร่างคล้ายกระทะ ตั้งอยู่บนฐาน ตัวกลองทำด้วยทองแดง ใช้หนังลูกวัวขึง มีสกรูอยู่รอบๆ ขอบกลองเพื่อใช้บังคับหนังกลองให้ตึงมากน้อยให้เกิดระดับเสียงที่ต้องการ นอกจากสกรูแล้วที่ฐานยังมีกระเดื่องไว้ให้ผู้เล่นเหยียบเปลี่ยนระดับเสียงอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ไม้ตีกลอง (Drum Sticks)ซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน (ล็ก กลาง ใหญ่) หัวไม้ตีกลอง มักจะหุ้มด้วยสักหลาด ผ้า สำลี ไม้ก๊อก หรือ ฟองน้ำเสียงของทิมปานี จะทุ้มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลาง ของหน้ากลอง ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางยาวมากเสียงก็จะทุ้มมากถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางสั้น เสียงจะมีความทุ้มน้อย เสียงของกลองทิมปานี เทียบได้กับเสียงเบสเป็นเสียงที่แสดงอำนาจตื้นเต้น เร้าใจ กลองทิมปานีใช้ในวงซิม โฟนีออร์เคสตร้ามานานแล้ว

  • ระนาดฝรั่ง [Glockenspiel] มีรูปร่างคล้าย Xylophone แต่เล็กกว่า บรรจุไว้ในกระเป๋าคล้ายกระเป๋าเดินทาง เวลาใช้ จะตั้งบนโต๊ะผู้เล่นยืนเล่นลูกระนาดทำด้วยแผ่นเหล็กมีไม้ตี มีเสียงดังกังวาน คล้ายระฆังเล็กมีวิวัฒนาการมาจาก ระฆังในโบสถ์ หลายๆใบเรียงกัน

  • ระนาดฝรั่ง [Xylophone] ลูกระนาดทำด้วยไม้ขนาดสั้นยาวลดหลั่นกัน วางตามแนวนอนมีขาตั้งติดมากับตัว ลูกระนาดวางราบบนรางที่มีหมุดตรึงไว้ ไม้ตีเป็นไม้นวมหรือไม้มีผ้าหุ้ม หรืออาจจะเป็นกระดาษพิเศษใต้ลูกระนาดจะมีหลอดยาวต่อลงมาเพื่อให้เสียงดังกังวาน ไพเราะเพิ่มขึ้นระนาดฝรั่งต่างจากระนาดไทยคือ ระนาดไทยจะเรียงติดกันเป็นพืดแต่ระนาดฝรั่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นเสียงปกติชั้นบนจะเป็นเสียงห่างครึ่งเสียงเหมือนKeyboard ชึ่งจะทำให้มีช่วงเสียงกว้างมากขึ้น Xylophone มีเสียงแกร่งสั้น ห้วน และชัดเจนมีขนาดใหญ่กว่า Glockenspiel

  • คลาริเนต [Clarinet] เป็นเครื่องเป่าลมไม้ที่มีลิ้นเดี่ยว(Single Reed)ประดิษฐ์ขึ้นในเยอรมันนี เมื่อต้นคริสตศตวรรษ ที่ 17 เสียงของคลาริเนตมีความกว้างมากหวานกังวานไม่แพ้เครื่องเป่าชนิดใดถือเป็นตัวเอกในบรรดาเครื่องลมไม้ เป็นเครื่องเป่าสำคัญขนิดหนึ่งในวงออร์เคสตร้า และวงโยธวาทิต

  • แซกโซโฟน [Saxophone] เป็นเครื่องเป่าลมไม้ที่มีลิ้นเดี่ยว(Single Reed)ปากทำด้วยไม้ แต่ตัวทำด้วยทองเหลือง มีลักษณะผสมผสานระหว่างเครื่องเป่าลมไม้กับเครื่องทองเหลืองตามประวัติว่ามีนักเป่าคลาริเนตคนหนึ่ง ชื่อว่านายSaxเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นจึงให้ชื่อว่า Saxophone ใช้ในวงOrchestraในบางโอกาส ที่ใช้มากในวง Jazz , Big band และวงโยธวาทิตจริงแล้ว Saxophone มีหลายชนิด คือ Soprano, alto, tenor, Baritone และ Bass ซึ่งเรียงลำดับ จากเสียงสูงสุด จนถึงต่ำสุด

  • โอโบ [Oboe] จัดอยู่ในจำพวกที่มีลิ้นคู่(Double Reed)มีเสียงที่ไพเราะ สะกดใจคนได้มาก ตามประวัติเกิดในฝรั่งเศสประมาณ ศตวรรษที่ 17ปัจจุบันเป็นเครื่องเป่าชั้นนำในวงออร์เคสตร้า มีลักษณะคล้ายคลาริเนตยกเว้นตรงปากเป่าจะเป็นท่อยาว ตัวความยาวประมาณ 2 ฟุต ประโยชน์อย่างหนึ่งของโอโบคือ ใช้เป็นเครื่องเทียบหรือแต่งเสียงในวงออร์เคสตร้า

  • บาซูน [Bassoon] เป็นเครื่องลมไม้ที่จัดอยู่ในประเภทลิ้นคู่ (Double Reed)และให้เสียงที่ต่ำที่สุด ไม่แจ่มใส ให้ความรู้สึกหม่นหมอง เสียงแหบเหมือนผี มักไม่ค่อยมีใครนำมาบรรเลงเดี่ยวในประวัติมีเพียง โมสาร์ท เพียงคนเดียว ที่กล้านำมาใช้ในเพลงคอนแชร์โต้ส่วนใหญ่ใช้เป็นเสียงประสานหรือทำเสียงประหลาด ๆ น่ากลัวบาสชูน มีท่อลมใหญ่ และมีความยาวถึง 109 นิ้ว ผู้ประดิษฐ์จึงเอามาทบกันจนมีความยาว เหลือเพียง 50 นิ้ว และเนื่องจากมีน้ำหนักมาก จึงจำเป็นต้องใช้เชือกถักติดกับตัวปี่แล้วคล้องคอผู้เล่น

  • ใส่ความเห็น